หน่วยที่ 4


หน่วยที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน


จิตวิทยาการเรียนการสอน
ความหมาย 
      “จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต โดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกาย สภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก
 แนวทางในการศึกษา 
      จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอน พร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน
ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน 
      1.  ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์
      2.  หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วย
           ทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ
      3.  ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน
      4.  การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการ   
           แก้ปัญหาการเรียนการสอน  
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน 
ประการแรก        มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน 
ประการที่สอง    นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
 หลักการสำคัญ 
1.  มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2.  มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3.  มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4.  มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน

ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน 
ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน 
ทำให้ครูทราบทฤษฎี หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน
ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน (สุวรี, 2535) 
การเรียนรู้  เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย  สำหรับมนุษย์การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลก
อื่น ๆ    ดังพระราชนิพนธ์บทความของสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา ฯ  ที่ว่า  "สิ่งที่ทำให้คนเราแตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ ก็เพราะว่า   คนย่อมมีปัญญา  ที่จะนึกคิดและปฏิบัติสิ่งดีมีประโยชน์และถูกต้องได้ .  "  การเรียนรู้ช่วยให้มนุษย์รู้จักวิธีดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข  ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสภาพการต่างๆ  ได้    ความสามารถในการเรียนรู้ของมนุษย์จะมีอิทธิพลต่อความสำเร็จและความพึงพอใจในชีวิตของมนุษย์ด้วย
การเรียนรู้  เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย  สำหรับมนุษย์การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลก
อื่น ๆ    ดังพระราชนิพนธ์บทความของสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา ฯ  ที่ว่า  "สิ่งที่ทำให้คนเราแตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ ก็เพราะว่า   คนย่อมมีปัญญา  ที่จะนึกคิดและปฏิบัติสิ่งดีมีประโยชน์และถูกต้องได้ .  "  การเรียนรู้ช่วยให้มนุษย์รู้จักวิธีดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข  ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสภาพการต่างๆ  ได้    ความสามารถในการเรียนรู้ของมนุษย์จะมีอิทธิพลต่อความสำเร็จและความพึงพอใจในชีวิตของมนุษย์ด้วย
การเรียนรู้มีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้
๑. การเรียนรู้เป็นกระบวนการ การเกิดการเรียนรู้ของบุคคลจะมีกระบวนการของการเรียนรู้จากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ ๕ ขั้นตอน คือ
......๑.๑ มีสิ่งเร้ามากระตุ้นบุคคล
......๑.๒ บุคคลสัมผัสสิ่งเร้าด้วยประสาททั้ง ๕
......๑.๓ บุคคลแปลความหมายหรือรับรู้สิ่งเร้า
......๑.๔ บุคคลมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้
......๑.๕ บุคคลประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
การเรียนรู้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้า (Stimulus) มากระตุ้นบุคคล ระบบประสาทจะตื่นตัวเกิดการรับสัมผัส (Sensation) ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ แล้วส่งกระแสประสาทไปยังสมองเพื่อแปลความหมายโดยอาศัยประสบการณ์เดิมเป็นการรับรู้ (Perception)ใหม่ อาจสอดคล้องหรือแตกต่างไปจากประสบการณ์เดิม แล้วสรุปผลของการรับรู้นั้น เป็นความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (Concept) และมีปฏิกิริยาตอบสนอง (Response) อย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้า ตามที่รับรู้ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่า เกิดการเรียนรู้แล้ว
๒. การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้อาศัยวุฒิภาวะ
วุฒิภาวะ คือ ระดับความเจริญเติบโตสูงสุดของพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของบุคคลแต่ละวัยที่เป็นไปตามธรรมชาติ แม้ว่าการเรียนรู้จะไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้ต้องอาศัยวุฒิภาวะด้วย เพราะการที่บุคคลจะมีความสามารถในการรับรู้หรือตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นมีวุฒิภาวะเพียงพอหรือไม่
๓. การเรียนรู้เกิดได้ง่าย ถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
.....การเรียนสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน คือ การเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการจะเรียนหรือสนใจจะเรียน เหมาะกับวัยและวุฒิภาวะของผู้เรียนและเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน การเรียนในสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียนย่อมทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนไม่ต้องการหรือไม่สนใจ
๔. การเรียนรู้แตกต่างกันตามตัวบุคคลและวิธีการในการเรียน
.....ในการเรียนรู้สิ่งเดียวกัน บุคคลต่างกันอาจเรียนรู้ได้ไม่เท่ากันเพราะบุคคลอาจมีความพร้อมต่างกัน มีความสามารถในการเรียนต่างกัน มีอารมณ์และความสนใจที่จะเรียนต่างกันและมีความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะเรียนต่างกัน
ในการเรียนรู้สิ่งเดียวกัน ถ้าใช้วิธีเรียนต่างกัน ผลของการเรียนรู้อาจมากน้อยต่างกันได้ และวิธีที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้มากสำหรับบุคคลหนึ่งอาจไม่ใช่วิธีเรียนที่ทำให้อีกบุคคลหนึ่งเกิดการเรียนรู้ได้มากเท่ากับบุคคลนั้นก็ได้
              แนวคิดเกี่ยวกับจิตวิทยาพัฒนาการ
(Concepts of Developmental Psychology)
...........จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัยของมนุษย์เป็นศาสตร์ที่มีความสลับซับซ้อน จากการที่ต้องศึกษาการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ในลักษณะองค์รวม ทั้งที่สามารถมองเห็นได้ง่าย ชัดเจน และมองเห็นได้ยาก ไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้ในเรื่องจิตวิทยาพัฒนาการถือเป็นเรื่องสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษา ช่วยให้ผู้ศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจลักษณะธรรมชาติของมนุษย์ ลำดับขั้นพัฒนาการชีวิตในช่วงวัยต่าง ๆ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต และทราบถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย ส่งผลให้ผู้ศึกษาเกิดการยอมรับ เข้าใจตนเองและผู้อื่น เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถปรับตัวให้เข้ากับบุคคลในวัยต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถช่วยเหลือบุคคลวัยต่าง ๆ ในแนวทางที่เหมาะสมยิ่งขึ้น

การรับรู้ คือ การสัมผัสที่มีความหมาย หรือการรู้ รู้สึกสิ่งต่างๆ สภาพต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้ามาทำปฎิกิริยากับตัวเราเป็นการแปลอาการสัมผัสให้มีความหมายขึ้นเกิด ซึ่งเป็นความรู้สึกซึ่งเฉพาะตัวสำหรับบุคคลนั้นๆ เมื่อมีการรู้สึกเกิดขึ้นจากอวัยวะในการรับความรู้สึกอันได้แก่ ตา หู ปาก จมูก ผิวหนัง อื่นๆ และถ้าการรู้สึกมีการตีความว่า การรู้สึกที่เกิดขึ้นคืออะไร นั่นถือว่ามีการรับรู้เกิดขึ้นแล้ว
*****คุณลักษณะของผู้รับรู้*****
1. ประสบการณ์
2. ความตีอาการทางร่างกาย
3. อิทธิพลทางสังคม
*****ลักษณะของความคลาดเคลื่อน คือ*****
1. การเติมสิ่งหนึ่งสิ่งใด
2. ขนาดสัมพันธ์
3. การเกิดมุมหรือการตัดกันของเส้น
*****องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ มีดังนี้*****
1.ความสมบูรณ์ของอวัยวะรับสัมผัส
2.การแปลความหมาย
3.การใช้ประสบการณ์เดิม
4.ความตั้งใจที่จะรับรู้
5.วัยของผู้รับรู้
พฤติกรรมการเรียนรู้จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงาน
การเรียนรู้กับการเรียนการสอน
.....ในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่างๆ
3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยาก   จิตวิทยาพัฒนาการ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
การออกแบบสื่อการเรียนการสอน
การออกแบบสื่อ
องค์ประกอบทีสำคัญในการเรียนการสอน คือสิ่งที่นำไปประกอบการเรียนการสอน
ลักษณะการออกแบบที่ดี
1. ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการทำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น
ปัจจัยพื้นฐานของการออกแบบสื่อการสอน
1. เป้าหมายของการเรียนการสอนพฤติกรรมด้านพุทธพิสัย แสดงว่าได้เกิดความรู้และสามารถอธิบายวิเคราะห์ได้พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย เป็นทักษะในการเคลื่อนไหวลงมือทำงาน หรือความว่องไวในการแก้ปัญหาพฤติกรรมด้านจิตพิสัย แสดงความรู้สึก อารมณ์ที่มีต่อสิ่งที่เรียนรู้และสภาพแวดล้อม
2. ลักษณะของผู้เรียน เนื้อหาและรายละเอียดของสื่อย่อมแปรตามอายุ และความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
3. ลักษณะแวดล้อมของการผลิตสื่อลักษณะผู้เรียน
- การสอนกลุ่มใหญ่ ในลักษณะการบรรยาย สาธิต
- การสอนกลุ่มเล็ก
- การสอนเป็นรายบุคคลสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้สื่อ
4. ลักษณะสื่อ
- ลักษณะเฉพาะตัวของสื่อ
- ขนาดมาตรฐานของสื่อวิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอน เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้(ข้อมูลย้อนกลับ)จากการผลิตหรือการประเมินผล มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ระบบการเรียนการสอน
1. เนื้อหาหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จะต้องมีความสอดคล้องกัน
2. พิจารณาพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้เรียน คือ ต้องทราบพื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน
3. ขั้นการสอน วิธีการสอน และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดี
4. การประเมินผล เพื่อตรวจสอบการดำเนินการเรียนการสอน
5. วิเคราะห์ผลและปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบการเรียนการสอน
ความสำคัญของจิตวิทยาการศึกษาต่ออาชีพครู
วิชาจิตวิทยาการศึกษาสามารถช่วยครูได้ในเรื่องต่อไปนี้
     1. ช่วยครูให้รู้จักลักษณะนิสัย ของนักเรียนที่ครูต้องสอน
     2. ช่วยให้ครูมีความเข้าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของนักเรียน
     3. ช่วยครูให้มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล
     4. ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมแก่วัย
     5. ช่วยให้ครูทราบถึงตัวแปรต่าง ๆ
     6. ช่วยครูในการเตรียมการสอนวางแผนการเรียน โดยคำนึงถึงหัวข้อต่อไปนี้
          6.1 ช่วยครูเลือกวัตถุประสงค์ของบทเรียนโดยคำนึงถึงลักษณะนิสัย
          6.2 ช่วยครูในการเลือกหลักการสอนและวิธีสอนที่เหมาะสม
          6.3 ช่วยครูในการประเมินไม่เพียงแต่เฉพาะเวลาครูได้สอนจนจบบทเรียนเท่านั้น
     7. ช่วยครูให้ทราบหลักการและทฤษฎีของการเรียนรู้
     8. ช่วยครูให้ทราบถึงหลักการสอนและวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพ
     9. ช่วยครูให้ทราบว่านักเรียนที่มีผลการเรียนดีไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาเพียงอย่างเดียว
    10. ช่วยครูในการปกครองชั้นและการสร้างบรรยากาศของห้องเรียน
การสร้างสุขภาพจิตที่ดีของครู
     ถึงแม้จะมีความพยายามในการพัฒนามากเพียงใด แต่ครูก็คือ "มนุษย์" คนหนึ่ง ซึ่งมีปัญหาต่าง ๆ เช่นเดียวกับผู้เรียน ดังนั้นครูจึงควรจะมีหลักที่ใช้เมื่อเกิดความเครียดในขณะประกอบอาชีพ หลักนี้เป็นข้อเสนอแนะของไบเลอร์ และสโนว์แมน (Biehler & Snowman, 1993) ซึ่งเขาได้ดัดแปลงบางส่วนมาจากหลักสุขภาพจิตในการสอน (Mental Hygiene in Teaching) ของฟริดซ์ รีด และวิลเลี่ยม วัตเตนเบริกท์ (Fritz Redl & William Wattenberg, 1959) หลักดังกล่าวสามารถสรุปได้ดังนี้
  1. พัฒนาการรู้จักตนเอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าครูมีความเข้าใจและยอมรับตนเองแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจและยอมรับผู้อื่นได้ง่ายยิ่งขึ้น
     2. ค้นหาทางเลือกใหม่ๆ ในการสอน ถ้าพบว่า วิธีการต่าง ๆ ที่ เป็นที่นิยมใช้กันนั้นไม่เหมาะสมกับตนเอง ครูควรจะค้นหาวิธีใหม่ ๆ มาใช้ ให้เหมาะกับตนเอง
     3. หมั่นตรวจสอบ สิ่งที่ตนเองไม่พึงพอใจ
     4. ประเมินภาระงานใหม่ ทั้งหมดโดยพยายามขจัดหรือลดภาระงานที่มากเกินไปที่ทำให้เกิดความเครียด
     5.ขอคำแนะนำจากผู้อื่นเช่น เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และมุมมองในการแก้ ปัญหาที่แตกต่างกันออกไป
     6. แสวงหาประสบการณ์ใหม่ที่นอกเหนือจากการสอน เช่น หางานอดิเรกทำ ทำงานพิเศษช่วงฤดูร้อน เข้ารับการสัมมนาในหัวข้อที่สนใจ เป็นต้น
     7. แสวงหาความพึงพอใจจากที่อื่น ๆ เมื่อรู้สึกว่าบรรยากาศในห้องเรียนไม่เอื้อต่อความสุขของตนเอง เช่น การรับเชิญไปเป็นวิทยากรพิเศษ หรือการรับเชิญไปสอนพิเศษตามสถาบันต่าง ๆ เป็นต้น
     8. พูดคุยกับผู้อื่นเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ของตนเอง ซึ่งจะเป็นการระบายความเครียดได้
     9. ออกกำลังกายเมื่อเกิดความเครียด ทั้งนี้จะได้ประโยชน์โดยการผ่อนคลาย
     10.โปรดอย่านำความเครียดมาระบายในชั้นเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่านำความเครียดมาระบายกับผู้เรียน
     11.ถ้าท่านมีความเครียดมาก จนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองโปรดขอคำแนะนำจากจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
การใช้สมมุติฐานเกี่ยวกับการสอน
     ครูทุกคนต้องการให้นักเรียนเรียนรู้ ครูจึงเหมือนนักวิทยาศาสตร์ ที่จะต้องทำการทดลองไปเรื่อย ๆ โดยตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับการสอนและพยายามพิสูจน์ว่าเป็นจริงหรือไม่ เป็นต้นว่าครูที่สอนคณิตศาสตร์ที่พบว่ามีนักเรียนเพียง 2-3 คนที่ตั้งใจฟังครูและทำงานที่ครูสั่งได้ ที่เหลือทำอะไรไม่ได้เลย ถ้าครูสอนไปเรื่อย ๆ โดยไม่เปลี่ยนวิธีสอน ผลก็คือมีคนสอบได้เพียงไม่กี่คน แต่ถ้าครูใช้สมมุติฐานเกี่ยวกับการสอน พยายามเปลี่ยนวิธีการสอนโดยอาจจะมีสมมุติฐานว่า
1.ถ้าแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มตามความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนและให้งานตามระดับความรู้ของนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆ
2. แบ่งกลุ่มนักเรียนตามความสามารถทางคณิตศาสตร์

3. ครูให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ช่วยให้นักเรียนสามารถจะพิสูจน์ตนเองได้ว่าทำได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกข้
ความสัมพันธ์ระหว่างจุดประสงค์ วิธีสอน และการประเมินผล
     ในการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงขั้นมหาวิทยาลัย จะต้องมีเป้าหมายของการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้จัดการศึกษาทราบว่าจะจัดการศึกษาแต่ละอย่างไร เป็นการศึกษาขั้นอนุบาลจนถึงขั้นมัธยมศึกษา แต่ระดับมหาวิทยาลัย ทบวงมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้วางเป้าหมายทั่วไป ต่อจากระดับทั่วไปเป้าหมายการศึกษาแต่ละข้อก็จะถูกนำมาตีความหมายโดยเขียนเป็นจุดประสงค์เฉพาะเพื่อจะได้จัดหลักสูตร เนื้อหา และกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของการศึกษา วัตถุประสงค์เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนการสอนเพราะเป็นเสมือนแผนที่นำทางให้ไปถึงจุดหมายปลายทาง ซึ่งเป็นวัตถุ
     ประสงค์ของบทเรียนนั้น ต่อจากนั้นครูเลือกกิจกรรมที่จะให้นักเรียนทำและเนื้อหาของวิชาที่มีความสัมพันธ์กับวัตถุ
ประสงค์ และเลือกวิธีสอนที่เหมาะสมกับบทเรียนและในที่สุดประเมินผลเพื่อจะดูว่านักเรียนมีความสัมฤทธิผลตามวัตถุ
ประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ สรุปแล้วอาจจะเขียนขั้นการเตรียมการสอนได้ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 ศึกษาวัตถุประสงค์ระยะยาวของวิชาที่สอนแต่ละวิชาและแยกออกเป็นวัตถุประสงค์ของบทเรียนแต่ละบท หรือหน่วยเรียน
ขั้นที่ 2 เขียนวัตถุประสงค์เฉพาะหรือสิ่งที่ต้องการที่จะให้นักเรียนสามารถทำได้หลังจากที่จบบทเรียนแล้ว
ขั้นที่ 3 จัดหากิจกรรม ประสบการณ์และเนื้อหาที่จะให้นักเรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ขั้นที่ 4 หาวิธีประเมินผลเพื่อจะได้ทราบว่านักเรียนมีความสัมฤทธิผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่
ขั้นที่ 5 แจ้งผลให้นักเรียนทราบว่านักเรียนทำได้มากน้อยเพียงไร และพยายามแนะแนวนักเรียนที่ทำไม่ได้ โดยช่วยนักเรียนหาเหตุผลว่าที่ทำไม่ได้เพราะอะไร
จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology)
.....การศึกษาพยายามที่จะช่วยเหลือคนในการปรับตัวได้อย่างดีที่สุดส่วนจิตวิทยาเป็นศาสตร์ คำนึงเกี่ยวกับการปรับตัวของคนดังนั้นจิตวิทยาการศึกษาจะเป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวของคนไปปฏิบัติจริงเพื่อช่วยเหลือในการปรับตัวดังนั้นหน้าที่สำคัญประการแรกคือการจัดการ เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ การเรียนการสอนซึ่งจะเป็นเรื่องราวทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อันได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจ และทฤษฎีพัฒนาการ ลักษณะธรรมชาติผู้เรียน สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดจนวิธีการนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปช่วยในการปรับตัวให้ดีขึ้น
ซึ่งได้กล่าวถึง ความหมายของจิตวิทยาว่า จิตวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับ
บทความนี้จึงมีจุดประสงค์สำคัญสองประการคือ
ประการแรก
.....มุ่งเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอน และการวิจัยด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การที่เหมาะสมกับประเทศไทย
ประการที่สอง
.....เพื่อ จุดประกายให้มีการอภิปรายถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการและอาจารย์ เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้แก่วงการจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การของไทย สำหรับการนำเสนอสาระ ในส่วนแรกบทความนี้จะกล่าวถึงเป้าหมายของการผลิตบัณฑิตสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ และในส่วนที่สองจะกล่าวถึงการเรียน การสอน และการวิจัยด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การที่เหมาะสมกับประเทศไทย
เป้าหมายของการผลิตบัณฑิตสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
.....การเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียน การสอน และการวิจัยด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การจะไม่มีความสมบูรณ์และได้ทิศทาง หากขาดการทบทวนและพิจารณาเกี่ยวกับเป้าหมายของการผลิตบัณฑิตในสาขานี้เพราะเป้าหมายคือสิ่งที่มุ่งหวังจะให้ปรากฏเป็นจริงในอนาคตหรือผลลัพธ์ (end results) ส่วนการเรียน การสอน และการวิจัยคือ วิธีการ (means) ที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ปรารถนานั้นโดยทั่วไปแล้ว ปรัชญาและเป้าหมายการผลิตบัณฑิตของสถาบันการศึกษาต่างๆ ในระดับอุดมศึกษา มักจะอยู่ในทำนองที่ว่า เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและคุณธรรมซึ่งหมายถึงว่า บัณฑิตเหล่านั้นควรจะมีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และบุคลิก
ลักษณะที่ดีและเหมาะสมสำหรับการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว
.....ปัญหาก็คือ ความรู้ ทักษะ ความสามารถ และบุคลิกลักษณะเหล่านั้นคืออะไร? มีลักษณะอย่างไร? และจะเสริมสร้างพัฒนาได้อย่างไร? สำหรับความรู้ ทักษะ ความสามารถ และบุคลิกลักษณะที่พึงประสงค์ ของบัณฑิตสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ สามารถกำหนดได้โดยการพิจารณาจากปัจจัยสองประการดังต่อไปนี้คือ ประการแรก งานและภาระหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบในฐานะนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ และ ประการที่สอง ความเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของสังคมไทยในอนาคต ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดดังต่อไปนี้
งานและภาระหน้าที่ของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
.....ในสหรัฐอเมริกา นักจิตวิทยาสาขาต่างๆ รวมทั้งนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากหน่วยงานต่างๆ และสาธารณชน ในฐานะที่เป็นนักวิชาชีพ (professional) ที่มีบทบาทสำคัญต่อสังคมในทุกๆ ด้านในองค์การธุรกิจหรือหน่วยงานของรัฐจะมีตำแหน่งงานนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กาโดยเฉพาะ ทั้งนี้อันเนื่องมาจากกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการจ้างงานของสหรัฐอเมริกา (เช่น the 1964 Civil Right Act, Title VII และฉบับแก้ไขปรับปรุงปี 1991) ได้ห้ามมิให้นายจ้างกีดกันผู้สมัครงาน/ผู้ทำงาน โดยการปฏิเสธการจ้างงานหรือการเลื่อนตำแหน่งอันเนื่องมาจากสีผิว เชื้อชาติ เพศ ศาสนา ฯลฯ ดังนั้น นายจ้างจึงมีภาระที่จะต้องพิสูจน์ (burden of proof) ความเหมาะสมของเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการประเมินบุคคล ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่นี้ได้ก็คือ นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การนอกจากนี้แล้ว นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ยังได้รับความยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และเหมาะสมที่จะทำงานด้านอื่นๆ อีกหลายด้านให้แก่องค์การ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น