หน่วยที่ 5


หน่วยที่ 5 การออกแบบการเรียนการสอน

 การออกแบบระบบการเรียนการสอน   (Instructional System Design)


.....ความนำ ในการจัดทำเอกสารชุดนี้ ผู้เขียน จะกล่าวถึงการออกแบบระบบการเรียนการสอนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปพัฒนาเป็นบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะขอแบ่งขั้นตอนการออกแบบระบบการเรียนการสอนออกเป็น 5 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
....ก. ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis)
....ข. ขั้นการออกแบบบทเรียน (Design)
....ค. ขั้นการพัฒนาบทเรียน (Development)
....ง. ขั้นการจัดทำบทเรียน (Implementation)
....จ. ขั้นการประเมินบทเรียน (Evaluation)

....ก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของขั้นตอนทั้ง 5 ขั้นตอน ผู้เขียนขอนำเสนอเนื้อหาพื้นฐานทีเกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบการเรียนการสอน เพื่อสร้างความเข้าใจเบื้องต้นบางประการให้เข้าใจตรงกันก่อนดังนี้

http://img1.blogblog.com/img/icon18_wrench_allbkg.png
.....ความหมาย การออกแบบระบบการเรียนการสอน เป็นการนำเอาวิธีระบบ (System Approach) มาประยุกต์ใช้กำหนดรูปแบบ ของการวางแผนจัดการเรียนการสอนกล่าวคือ ในการวางแผนจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้ง จะมีการพิจารณาที่ปัจจัย (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Output) และผลกระทบ (Impact)
….1.การจัดทำ แผนการสอน ของครูเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนจำนวน 1- 2 ชั่วโมง ก็ถือว่าเป็นการออกแบบการสอนได้ หากมีการจัดทำแผนการสอนพิจารณาปัจจัยของการจัดการเรียนการสอนเช่นเป้าหมายของการสอน วัตถุประสงค์ของการสอน มีการวิเคราะห์เนื้อหา เลือกกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม เลือกสื่อและวิธีการประเมินผลได้สอดคล้องกับกิจกรรมและวัตถุประสงค์ของการสอน เมื่อนำแผนไปใช้จัดการเรียนการสอนแล้ว มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน ประเมินกระบวนการทั้งหมดของแผนการสอน เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงแผนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

…..2.จากแผนการสอนที่ครูจัดทำเพื่อใช้สอนเพียง 1- 2 ชั่วโมง อาจมีการขยายขอบข่ายของเนื้อหาออกเป็น หน่วยการเรียนรู้ ที่สามารถใช้สอนได้หลายๆ ชั่วโมงขึ้นเป้าหมายของการสอน เป็นเป้าหมายของหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งอาจเรียกว่าจุดประสงค์ทั่วไปหรือจุดจุดประสงค์ปลายทาง มีการออกแบบเพื่อประเมินความรู้ของผู้เรียนก่อนเรียน มีการวิเคราะห์เนื้อหา กำหนดเนื้อหาย่อยๆ มีกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกิจกรรมย่อยๆ หลายกิจกรรม มีการวางแผนการเลือกใช้หรือจัดทำสื่อการสอน ในแต่ละกิจกรรมมีการนำเสนอเนื้อหา การฝึกและการประเมินผลระหว่างเรียน และประเมินผลหลังเรียนเมื่อเรียนจบหน่วย เราอาจเรียกการออกแบบการสอนในลักษณะนี้ว่า ชุดการเรียน

….3.หากเรากำหนดเนื้อหาและเป้าหมายของการสอนทั้ง คอร์ส (รายวิชา) หรือทั้งหลักสูตรแบ่งเนื้อหาทั้งหมดออกเป็นหน่วยย่อยๆ แล้วดำเนินการเช่นเดียวกับที่กล่าวในข้อ 2 ก็จะทำให้เรามี ชุดการเรียน หลายๆ ชุด ที่เป็นรายวิชาเดียวกัน จัดระบบใหม่ให้มีการประเมินผู้เรียนให้ครอบคลุมตลอดรายวิชา สามารถนำผลการประเมินทั้งระหว่างเรียนในแต่ละชุดการเรียน และหลังจากที่เรียนครบทั้งรายวิชาแล้ว มาประเมินและตัดสินผลการเรียนของรายวิชาได้ เราก็เรียกว่า Courseware

....จากการแบ่งระดับของการออกแบบระบบการเรียนการสอนออกเป็น 3 ระดับดังกล่าวเมื่อพิจารณาคุณลักษณะ กระบวนการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะพบว่า ระดับแผนการสอนเป็นการออกแบบโดยผู้สอนเอง ครูเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมการสอนเอง เนื้อหาที่สอนเป็นเนื้อหาสั้นๆ ครูมักเลือกใช้สื่อที่มีอยู่มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากกว่าผลิต ส่วนการออกแบบระบบการเรียนการสอนในระดับตั้งแต่ชุดการเรียนถึงระดับคอร์สแวร์ อาจเป็นการออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองในลักษณะที่ใช้เป็นบทเรียนหลัก(ComprehensiveReplacement Media) บทเรียนเพิ่มเติม (Complementary Media) และบทเรียนเสริม(Supplementary Media) เนื้อหาที่จัดทำมีความซับซ้อนขึ้น การออกแบบบทเรียนต้องคำนึงถึงลักษณะของเนื้อหา คุณลักษณะของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของผู้เรียน วิธีการนำเสนอบทเรียน การเลือกใช้สื่อและยุทธวิธีในการสอน การวัดและประเมินผล ต้องมีการทดลองใช้และปรับปรุงก่อนที่จะนำไปใช้จริง จึงต้องใช้บุคลากรหลายฝ่ายมาร่วมทำงานเป็นทีม

http://img1.blogblog.com/img/icon18_wrench_allbkg.png
....บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ในการออกแบบระบบการเรียนการสอนในระดับตั้งแต่ชุดการเรียนถึงระดับคอร์สแวร์นั้น ต้องอาศัยบุคคลหลายฝ่ายมาร่วมมือกัน ดังนี้
.....1. ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา (Content Expert)
.....2. นักออกแบบการสอน (Instructional Designer)
.....3. นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer)
.....4. ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ (Media Specialist)
.....5. ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมประยุกต์ (Programmer)

http://img1.blogblog.com/img/icon18_wrench_allbkg.png
ประเภทของเนื้อหา

.....ในการออกแบบระบบการเรียนการสอนเพื่อการนำไปจัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์นั้น
การเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับการที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นเรา
จึงควรทำความเข้าใจกับลักษณะของเนื้อหาประเภทต่างๆ ก่อน ไพฑูรย์ ปลอดอ่อน หน้า 3 14/03/49

.....Gagne (1985) ได้แบ่งประเภทของการเรียนรู้ไว้ 4 ประเภท ได้แก่
.....1. เนื้อหาที่เน้นการท่องจำ (Verbal Information)
.....2. เนื้อหาทางด้านทักษะทางปัญญา (Intellectual Skill)
.....3. เนื้อหาทางด้านทักษะทางร่างกาย (Psychomotor Skill)
.....4. เนื้อหาประเภทเจตคติ (Attitude)

.....เนื้อหาที่เหมาะสมจะนำมาออกแบบในรูปของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ควรเป็นเนื้อหา ประเภทที่เน้นการท่องจำ (Verbal Information) และเนื้อหาทางด้านทักษะทางปัญญา (Intellectual Skill) มากกว่าเนื้อหาทางด้านทักษะทางร่างกาย (Psychomotor Skill) และเนื้อหาประเภทเจตคติ (Attitude)

โครงสร้างของเนื้อหา

.....เนื้อหาบทเรียนที่เราจะนำมาออกแบบการสอนแต่ละเนื้อหาจะมีโครงสร้างแตกต่างกัน ซึ่งลักษณะโครงสร้างของเนื้อหานี้
จะมีส่วนสำคัญที่กำหนดให้เส้นทางการจัดการเรียนรู้ดำเนินไปในรูปแบบใดในที่นี้ผู้จัดทำจะขอนำเสนอลักษณะโครงสร้างของเนื้อหาที่สำคัญๆ 3 ลักษณะดังนี้
.....1. เนื้อหาที่มีลักษณะแบบระนาบ เนื้อหาย่อยๆแต่ละเนื้อหามีความสำคัญเท่าๆ กัน และสามารถเรียนเนื้อหาใดก่อนก็ได้โครงสร้างของเนื้อหาจึงอาจเขียนได้ดังแผนภูมิต่อไปนี้



.....2.เนื้อหาที่มีลักษณะแบบลำดับขั้น เนื้อหาย่อยๆแต่ละเนื้อหามีลำดับ ก่อน หลังการจัดการเรียนรู้จะต้องจัดจากเนื้อหาแรก ไปก่อนตามลำดับในลักษณะขั้นบันได

.....3.เนื้อหาที่มีลักษณะผสม มีเนื้อหาย่อยๆหลายเนื้อหา แต่ละเนื้อหาย่อยๆมีทักษะย่อยๆที่ผู้เรียนต้องศึกษา ให้มีความรู้ความสามารถสมบูรณ์เสียก่อนจึงจะผ่านไปเรียนเนื้อหาย่อยอื่นๆ ได้ เมื่อเรียนครบทุกเนื้อหาย่อยๆ แล้วจะมีความรู้ครบตามที่บทเรียนกำหนด


.....นอกจากลักษณะเนื้อหาที่กล่าวมาแล้ว อาจมีลักษณะเนื้อหาอื่นๆ ที่แตกต่างไปบ้าง แต่อาจเป็นในลักษณะการผสมผสานกันของทั้ง 3 ลักษณะที่กล่าวมานี้

ก. ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis) ในการออกแบบระบบการเรียนการสอน ผู้ออกแบบจะต้องทำการวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
.....1. วิเคราะห์หลักสูตร (Curriculum Analysis) โดยปกติ หลักสูตรจะมีจุดประสงค์ปลายทางของหลักสูตรแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 เรียกว่า ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการวิเคราะห์หลักสูตรกลุ่มสาระเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมปีที่ 4 จากคู่มือการจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้ 23 ข้อ ผู้จัดทำเลือกผลการเรียนรู้ที่คาดหวังข้อ 1 - 7 ซึ่งเป็นผลการเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาเรื่องพืชมาเป็นตัวอย่างของจุดประสงค์ปลายทาง ในคู่มือกำหนดให้ใช้เวลาเรียนเนื้อหาส่วนนี้จำนวน 25 ชั่วโมง ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและของสาระการเรียนรู้

http://img1.blogblog.com/img/icon18_wrench_allbkg.png
.....2. การวิเคราะห์ผู้เรียน (Learners Analysis) เป็นการศึกษากลุ่มเป้าหมายที่จะใช้บทเรียนว่ามีคุณลักษณะอย่างไร เช่นความสามารถทางการเรียนรู้ พื้นฐานความรู้ของผู้เรียนทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ความชอบเกี่ยวกับรูปแบบการเรียน ความกระตือรือร้นในการเรียน

.....3. การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เมื่อทำการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เราจะได้สาระการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กัน ดังด้านขวาของตารางในข้อ 1 แสดงว่าหน่วยการเรียนรู้เรื่องพืช เรามีเนื้อหาย่อยๆ ให้นักเรียนศึกษา 7 เรื่อง ในขั้นต่อไปผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จะต้องทำการวิเคราะห์เนื้อหาย่อยๆ จัดทำเป็นผังมโนทัศน์ (Concept Mapping)ของผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและของสาระการเรียนรู้

http://img1.blogblog.com/img/icon18_wrench_allbkg.png
....4. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการเรียน เช่นการเรียนทางไกลที่ผู้เรียนต้องเรียนจากบทเรียนแทนการเรียนการสอนในชั้นเรียน ซึ่งจะต้องออกแบบให้สมบูรณ์ที่สุดหากเป็นบทเรียนเสริมการเรียนในชั้นเรียนก็อาจไม่ต้องสมบูรณ์เท่าสภาพแวดล้อมของการเรียนอีกด้านหนึ่งก็คือ ความพร้อม สมบูรณ์ และเพียงพอของฮาร์ดแวร์ ระบบเครือข่าย รวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้ออกแบบระบบการเรียนการสอนจึงต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนเหล่านี้ด้วย

....5. การวิเคราะห์ภาระงานหรือวิเคราะห์ภารกิจ (Task Analysis) การวิเคราะห์ภาระงานถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากสำหรับการออกแบบระบบการเรียนการสอน การกำหนดเนื้อหาและการแตกเนื้อหาที่ซับซ้อนออกเป็นเนื้อหาย่อยๆ ที่เหมาะสม เพื่อจัดลำดับและเส้นทางการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการวิเคราะห์ทักษะที่ต้องการสอนอย่างครบถ้วนการวิเคราะห์ผู้เรียน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการเรียน จะช่วยให้ผู้ออกแบบกำหนดลำดับกิจกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสม

http://img1.blogblog.com/img/icon18_wrench_allbkg.png
ข. ขั้นการออกแบบบทเรียน (Design)
หลังจากได้วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ของการออกแบบระบบการเรียนการสอนแล้ว ในขั้นต่อไปก็คือนำข้อมูลที่วิเคราะห์ทั้งหมดมาเริ่มออกแบบ ซึ่งมีขั้นตอนและรายละเอียดดังต่อไปนี้

....1. การกำหนดเป้าหมายของการเรียน (Goal) จากการวิเคราะห์หลักสูตรหน่วยการเรียนรู้เรื่องการดำรงชีวิตของพืช ก็คือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังทั้ง 7 ข้อได้แก่

http://img1.blogblog.com/img/icon18_wrench_allbkg.png
....1.1 ทดลองและอธิบายหน้าที่ของราก ใบ ลำต้น
....1.2 สังเกตและสำรวจ เขียนภาพแสดงส่วนประกอบของดอกและอธิบายหน้าที่ของดอก
....1.3 ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยบางประการที่จำเป็น ได้แก่ แสง น้ำ ความชื้นในดินต่อการเจริญเติบโตของพืช
....1.4 ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยบางประการที่จำเป็นได้แก่ แสง คลอโรฟิลด์ ต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
....1.5 สังเกต สำรวจ และอธิบายการ เจริญเติบโตของพืชตั้งแต่ต้นอ่อน จนมีดอกและมีผล
....1.6 สังเกตและเขียนแผนภาพแสดงวัฏจักรของพืชที่เลือกศึกษาตามความสนใจ
....1.7 ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้าได้แก่แสง เสียง สัมผัส

http://img1.blogblog.com/img/icon18_wrench_allbkg.png
2. กำหนดเนื้อหา ขั้นตอนนี้เป็นการตัดสินใจเลือกเนื้อหาให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการสอนที่กำหนด ทำการวิเคราะห์เนื้อหา แยกย่อยเนื้อหาให้เป็นเนื้อหาย่อยๆ จัดลำดับเนื้อหาตามลักษณะโครงสร้างของเนื้อหา พร้อมที่จะวิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis)
หรือกิจกรรมของผู้เรียนในขั้นตอนต่อไป

http://img1.blogblog.com/img/icon18_wrench_allbkg.png
....3. การกำหนดภารกิจ (Task Analysis) หากในขั้นตอนการวิเคราะห์เนื้อหา นักออกแบบการสอน สามารถวิเคราะห์เนื้อหาและทักษะที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหาแล้ว การทำงานในขั้นตอนการกำหนดภาระงานก็จะไม่ยุ่งยาก
........การกำหนดภารกิจ เป็นการกำหนดลำดับขั้นของกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยอาศัยลำดับขั้นตามโครงสร้างของเนื้อหาเป็นหลัก

http://img1.blogblog.com/img/icon18_wrench_allbkg.png

....4. การกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมเป็นการกำหนดพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้น เมื่อผู้เรียนเรียนจบบทเรียนโดยอาจเป็นจุดประสงค์ทางด้านความรู้ ความคิด ทางด้านทักษะกระบวนการ หรือทางด้านเจตคติ ดังนั้นการจะกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมให้ครอบคลุมภารกิจ และสอดคล้องกับโครงสร้างของเนื้อหานั้นเราจึงควรมีการวิเคราะห์ภารกิจของผู้เรียน(Task Analysis) ในกิจกรรมการเรียนรู้จากเริ่มต้นไปจนจบบทเรียน แล้วเขียนเป็นจุดประสงค์ โดยความสามารถที่เกิดขึ้นท้ายสุดเป็นผลรวมของความสามารถในขั้นต้น และความสามารถนั้นก็คือพฤติกรรมที่เราต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเราเรียกพฤติกรรมท้ายสุดที่ต้องการให้เกิดขึ้นว่าจุดประสงค์ปลายทางนั่นก็คือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่เราได้จากการวิเคราะห์หลักสูตรนั่นเอง และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียนรู้เราเรียกว่า จุดประสงค์นำทางในการเขียนจุดประสงค์นำทางเราจะเขียนเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

.......จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เป็นจุดประสงค์ที่มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ เงื่อนไขหรือสถานการณ์ที่กำหนด ส่วนที่ 2 คือ พฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้น และ 3 คือ เกณฑ์ของความสำเร็จ ตัวอย่างเช่น เมื่อกำหนดตัวอย่างชื่อพืชที่มีทั้งพืชมีดอกและพืชไม่มีดอกให้สามารถจำแนกเป็น 2 กลุ่มคือพืชมีดอกและไม่มีดอกได้

http://img1.blogblog.com/img/icon18_wrench_allbkg.png
.....5. การออกแบบการประเมินผล เมื่อจัดทำรายละเอียดของเนื้อหา วิเคราะห์ภารกิจและเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมครบถ้วนหมดแล้ว ขั้นต่อไปก็ดำเนินการจัดทำแบบทดสอบเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งควรจัดทำแบบทดสอบ 2 ระดับ คือ
........5.1 แบบทดสอบประจำหน่วย (Summative Test) แบบทดสอบที่เหมาะกับการจัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ควรเป็นแบบทดสอบประเภทปรนัย (Objective Test)แบบทดสอบชุดนี้ จะใช้เป็นแบบทดสอบเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ประจำหน่วย ในลักษณะการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (Pre-test & Post-test)

.......5.2. แบบทดสอบประจำตอน (Formative Test) จากการที่เราได้วิเคราะห์เนื้อหาของบทเรียนออกเป็นเนื้อหาย่อยๆ วิเคราะห์ภารกิจการเรียนรู้ของนักเรียนออกเป็น ตอนๆ และเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมแล้วนั้น เราควรจัดทำแบบทดสอบประจำตอนนั้น ๆ ด้วย เพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน เกี่ยวกับผลการเรียนรู้ของเขา เพราะจากการวิจัยพบว่าผู้เรียนจะมีผลการเรียนดีขึ้นหากได้ทราบผลการเรียน (Feed back) ของตนเองอย่างสม่ำเสมอ

.....การจัดทำแบบทดสอบทั้งในระดับประจำหน่วยการเรียนรู้ และประจำตอนนั้น ควรได้รับการหาประสิทธิภาพด้วยวิธีการที่เป็นที่ยอมรับ เช่น การหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ การหาค่าความยากง่าย ค่าความเชื่อมั่น (ความเที่ยง) และค่าอำนาจจำแนก เป็นต้น

http://img1.blogblog.com/img/icon18_wrench_allbkg.png
....6. การสร้างแผนภูมิการเรียนรู้ (Learning Flow Chart) จากการดำเนินการดังที่กล่าวมาแล้วเราจะได้จุดประสงค์ปลายทาง (ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง) ซึ่งเป็นจุดประสงค์ของหน่วย แบบทดสอบประจำหน่วย เนื้อหาย่อยเป็นตอน ๆ ภารกิจของผู้เรียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม และแบบทดสอบประจำตอน เราก็จะสามารถเขียนแผนภูมิการเรียนรู้ของหน่วยการดำรงชีวิตของพืชได้
http://img1.blogblog.com/img/icon18_wrench_allbkg.png
ค. ขั้นการพัฒนาบทเรียน (Development)

....1. การเขียนสคริบ (Scripting) เป็นการจัดทำรายละเอียดการนำเสนอตามแบบที่กำหนดไว้ ในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบการสอนจะต้องเขียนรายละเอียดของเนื้อหาเป็นกรอบ(Frame) ตามแบบของการเขียน เพื่อกำหนดว่าจะใช้ข้อความ ภาพ เรื่อง สี ขนาด แบบตัวอักษร ฯลฯ และการกำหนดปฏิสัมพันธ์ (Interaction)

http://img1.blogblog.com/img/icon18_wrench_allbkg.png
....2. การออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard) หมายถึง เรื่องราวของบทเรียนประกอบด้วยเนื้อหาที่แบ่งออกเป็นเฟรมๆ ตั้งแต่เฟรมแรกซึ่งเป็น Title ของบทเรียนจนถึงเฟรมสุดท้าย บทดำเนินเรื่องจึงประกอบด้วย ภาพข้อความ คำถาม-คำตอบ และรายละเอียดอื่นๆ จากแผนภูมิการเรียนรู้ (Learning Flow Chart) ในข้อ 6 จะเห็นว่ามีเนื้อหาย่อยๆ อยู่ 4 ตอน แต่ละตอนสามารถเขียนบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)
http://img1.blogblog.com/img/icon18_wrench_allbkg.png
....2. แบบแตกกิ่ง (Branching Program) บทเรียนรูปแบบนี้ มีกรอบการเรียนรู้ที่เป็นทางเลือกให้ผู้เรียน ทำให้สนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ดี การจะออกแบบบทเรียนให้มีโครงสร้าง แตกกิ่ง อย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหาผู้ออกแบบบทเรียนวิเคราะห์ และกำหนดซึ่งมีรูปแบบดังนี้

.......2.1 แบบซ้ำกรอบเดิม (Linear format with repetition) มีลักษณะที่คล้ายกับบทเรียนแบบเส้นตรง แต่มีคำถามแทรกระหว่างกรอบเนื้อหา ถ้าผู้เรียนตอบถูกต้อง จะได้ผ่านไปกรอบถัดไป ถ้าตอบไม่ถูกต้อง จะย้อนกลับมายังกรอบเนื้อหาเดิมอีกครั้ง และตอบคำถามเดิมอีกครั้ง โครงสร้างแบบนี้เหมาะกับบทเรียนประเภทติวเตอร์ แบบฝึกหัด เกมเพื่อการศึกษา และสถานการณ์จำลอง

http://img1.blogblog.com/img/icon18_wrench_allbkg.png
.........2.2 แบบทดสอบข้ามกรอบ (Pretest and skip format) เป็นบทเรียนที่ทดสอบความรู้ของผู้เรียนก่อนเรียนเนื้อหา ถ้าทดสอบผ่าน ก็จะข้ามกรอบที่ผู้เรียนรู้เนื้อหานั้น ๆ แล้วไปยังกรอบเนื้อหาอื่นๆ โครงสร้างแบบนี้เหมาะสมกับบทเรียนประเภท ติวเตอร์แบบฝึกหัด เกมเพื่อการสอน และสถานการณ์จำลอง


........2.3 แบบข้ามและย้อนกลับ (Gates Frames) มีลักษณะโครงสร้างแบบ เส้นตรงมีกรอบคำถามอยู่ระหว่างกรอบเนื้อหาหลายกรอบ และถ้าตอบผิด อาจย้อนกลับไป กรอบเนื้อหาใดๆ ตามที่ผู้ออกแบบบทเรียนกำหนดไว้ โครงสร้างแบบนี้เหมาะกับ บทเรียนประเภทติวเตอร์ แบบฝึกหัด เกมเพื่อการสอน และสถานการณ์จำลอง


........2.4 แบบเส้นทางเดินหลายทาง (Secondary tracks) เป็นบทเรียนที่มีทางเดินหลายระดับ โดยเส้นทางที่ 1 เป็นกรอบเนื้อหาหลัก ไม่มีรายละเอียดมากนัก ถ้าผู้เรียนเลือกเรียนเฉพาะเส้นทางที่ 1 ผู้เรียนจะได้รายละเอียดของเนื้อหาในระดับหนึ่ง แต่ถ้าต้องการรายละเอียดมากขึ้น ก่อนจะไปสู่กรอบเนื้อหาต่อๆ ไป จะต้องไปศึกษา ในทางเดินระดับที่ 2และ 3 โครงสร้างประเภทนี้เหมาะกับบทเรียนประเภท ติวเตอร์ ซึ่งเนื้อหาของบทเรียน มีลักษณะของไฮเปอร์เท็กซ์ และไฮเปอร์มีเดีย (Hypertext and Hypermedia)

....3. การประเมินบทเรียน (Content Correctness) หลังจากการจัดทำ Story board เสร็จแล้ว ควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาอย่างน้อย 3 – 5 คน ได้ประเมินเกี่ยวกับความเที่ยงตรงเค้าโครงสร้างของเนื้อหาก่อน ได้ข้อเสนอแนะแล้วนำมาปรับปรุงอีกครั้ง


.......2.5 แบบกรอบเสริมเชิงเดี่ยว (Single remedial branch) เป็นบทเรียนที่เริ่มด้วยกรอบเนื้อหา ตามด้วยกรอบคำถาม ถ้าผู้เรียนตอบถูกจะไปเรียนกรอบต่อไปแต่ถ้าตอบผิดผู้เรียนจะต้องไปเรียนกรอบซ่อมเสริมก่อนจะไปเรียนกรอบต่อไป ลักษณะบทเรียนประเภทนี้เหมาะกับบทเรียนประเภท ติวเตอร์ และแบบฝึกหัด


.......2.6 แบบมีห่วงกรอบช่วยเสริม (Remedial loops) มีลักษณะคล้ายกับแบบกรอบเสริมเชิงเดี่ยว ต่างกันที่ กรอบช่วยเสริมมีหลายกรอบ ประกอบกันเป็นชุด หลาย ๆ กรอบ ซึ่งเป็นกรอบที่ปูพื้นฐานความรู้ ข้อมูลให้ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนได้รับการซ่อมเสริมแล้ว จะส่งกลับมายังกรอบเนื้อหาเดิม เพื่อให้ผู้เรียนใช้ความรู้จากการซ่อมเสริม มาศึกษากรอบเนื้อหาเดิมนั้น และตอบคำ ถามใหม่อีกครั้ง ก่อนจะไปเรียนกรอบเนื้อหาต่อไป โครงสร้างแบบนี้เหมาะสมกับบทเรียนประเภทติวเตอร์ และแบบฝึกหัด

........2.7 แบบแตกกิ่งคู่ (Branching frame sequence) บทเรียนลักษณะนี้ประกอบด้วยกรอบเนื้อหา กรอบคำถาม และกรอบซ่อมเสริม เมื่อผู้เรียน เรียนรู้เนื้อหาจะไปสู่กรอบคำถามซึ่งมีคำตอบให้เลือกตอบหลายตัวเลือกถ้าผู้เรียนตอบถูก จะไปเรียนกรอบต่อไป ถ้าตอบผิดในตัวเลือกที่ 1 จะไปสู่กรอบซ่อมเสริมสำหรับตัวเลือกที่ 1 ถ้าตอบผิดในตัวเลือกที่ 2 จะไปสู่กรอบซ่อมเสริมสำหรับตัวเลือกที่ 2 หากมีหลายตัวเลือกจะมีกรอบซ่อมเสริมหลายกรอบ เมื่อผู้เรียน เรียนกรอบซ่อมเสริมแล้วต้องกลับไปเรียน ในกรอบเนื้อหาใหม่ และทำกรอบทดสอบอีกครั้ง จนกว่าจะตอบถูก จึงจะไปสู่กรอบเนื้อหาต่อไป โครงสร้างลักษณะนี้เหมากับบทเรียนประเภทติวเตอร์ แบบฝึกหัด สถานการณ์จำลอง

.........2.8 แบบแตกกิ่งประกอบ (Compound branches) มีลักษณะที่เหมาะกับบทเรียนประเภทใช้วินิจฉัยข้อบกพร่องของผู้เรียน หรือสถานการณ์แก้ปัญหา คำถามจะอยู่ในลักษณะใช่ ไม่ใช่ จากคำตอบ ใช่ หรือไม่ใช่ที่ผู้เรียนเลือกตอบ จะพาผู้เรียนไปยังกรอบคำถาม หรือ เนื้อหากรอบต่อไปตามพื้นฐานความรู้ของผู้เรียนแต่ละคน

ขั้นตอนที่สำคัญหรือเป็นหัวใจสำคัญตามแนว Constructivism ขั้นนี้ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ดังนี้
ก)  ทำความกระจ่างและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและกัน   ผู้เรียนจะเข้าใจดีขึ้น   เมื่อได้พิจารณาถึงความแตกต่างและความขัดแย้งระหว่างความคิดของตนเองกับของคนอื่น ซึ่งครูจะมีหน้าที่อำนวยความสะดวก เช่น กำหนดประเด็น กระตุ้นให้คิด
ข)   สร้างความคิดใหม่   จากการอภิปรายและการสาธิต   ผู้เรียนจะเห็นแนวทางแบบวิธีการที่หลากหลายในการตีความปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์แล้วกำหนดความคิดใหม่หรือความรู้ใหม่
ค)   ประเมินความคิดใหม่โดยการทดลองหรือการคิดอย่างลึกซึ้ง ซึ่งผู้เรียนควรจะหาแนวทางที่ดีที่สุดในการทดสอบความคิดหรือความรู้    ในขั้นตอนนี้ผู้เรียนอาจจะรู้สึกไม่พอใจ
ความคิดความเข้าใจที่เคยมีอยู่  เนื่องจากหลักฐานการทดลองสนับสนุนแนวคิดใหม่มากกว่า
ง)   ขั้นนำความคิดไปใช้ (Application  of  Ideas) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนมีโอกาสใช้แนวคิดหรือความรู้ความเข้าใจที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ  ทั้งที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคย เป็นการแสดงว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย การเรียนรู้ที่ไม่มีการนำความรู้ไปใช้เรียกว่า เรียนหนังสือ ไม่ใช่เรียนรู้
จ)   ขั้นทบทวน (Review) เป็นขั้นตอนสุดท้าย  ผู้เรียนจะได้ทบทวนว่า ความคิดความเข้าใจของเขาได้เปลี่ยนไป   โดยการเปรียบเทียบความคิดเมื่อเริ่มต้นบทเรียนกับความคิดของเขาเมื่อสิ้นสุดบทเรียน       ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างด้วยตนเองนั้นจะทำให้เกิดโครงสร้างทางปัญญา
  มโนทัศน์ด้านการสอน เป็นมโนทัศน์สำคัญในการออกแบบการจัดการเรียนรู้  ครูจะมีเป้าหมายในการสอนอย่างไร  จัดเตรียมเนื้อหาอะไร  ใช้กิจกรรมอะไรและวัดประเมินผลอย่างไร ขึ้นอยู่กับมโนทัศน์ด้านการสอนทั้งสิ้น  ดังนั้น หากมโนทัศน์ที่เป็นพื้นฐานของความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนเกิดความบกพร่องหรือผิดเพี้ยนไป ก็ย่อมจะทำให้การจัดการเรียนการสอนนั้น ผิดรูปผิดแบบตามไปด้วย  ก็แล้วอะไรบ้างที่เป็นมโนทัศน์ด้านการสอนที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับครู

           โดยทั่วไปแล้ว มโนทัศน์ด้านการสอนที่เป็นพื้นฐานในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ มโนทัศน์รูปแบบการสอน” (teaching model) มโนทัศน์ วิธีการสอน” (teaching method) และมโนทัศน์ เทคนิคการสอน” (teaching  technique)  ทั้งสามมโนทัศน์มีความแตกต่างกัน คือ ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน  แต่สามารถทำงานร่วมกันได้  ผู้เกี่ยวข้องกับการสอนจำนวนมาก คิดว่าเทคนิคการสอนคือวิธีสอน (เทคนิคการสอน=วิธีสอน) รูปแบบการสอนคือเทคนิคการสอน  และก็อีกไม่น้อยที่คิดว่าวิธีสอนที่ดีต้องมีเทคนิคการสอน  ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว รูปแบบการสอน  วิธีสอนและเทคนิคการสอนเป็นคนละสิ่งกัน มีที่มาแตกต่างกัน  ทำหน้าที่ต่างกัน และมีบทบาทในการสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในผู้เรียนต่างกัน ความคิดเช่นนี้ ถือว่าเป็นอุปาทาน หรือภาวะที่บุคคลนึกเอาเองแล้วยึดมั่นถือมั่นว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น สำหรับอาชีพครูแล้ว อุปาทานถือว่าสิ่งที่อันตรายที่สุด เพราะอาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง           ที่จะต้องอาศัยการศึกษาและวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้   การนึกเดาด้วยการฟังหรือเล่าต่อๆ    กันมา ไม่อาจจะถือเป็นวิธีการในการสร้างความรู้ของครู ดังนั้น  ในการลดอุปาทาน จึงต้องอาศัยการศึกษาข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ เพื่อจะนำไปสู่การรู้แล้วหรือ อัญญาสิ” ซึ่งการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการสอน วิธีการสอนและเทคนิคการสอนเพิ่มเติม น่าจะสามารถช่วยลดและกำจัดความคิดที่เกิดจากอุปาทานดังกล่าวได้ 

          สำหรับมโนทัศน์แรกคือ  "รูปแบบการสอน" มโนทัศน์นี้ หมายถึง  ชุดของประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้นจากการค้นคว้าวิจัยอย่างเป็นระบบ บนพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง หรือหลายๆ ทฤษฎีก็ได้ ซึ่งชุดของประสบการณ์ดังกล่าว จะมีลำดับขั้นตอนที่ชัดเจนและมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้านใดด้านหนึ่งเป็นการเฉพาะ  รูปแบบการสอนแบ่งจึงสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่มตามเกณฑ์ที่ใช้จำแนก ตัวอย่างเช่น หากพิจารณาบทบาทของครูและผู้เรียนอาจแบ่งรูปแบบการสอนได้เป็น 3 กลุ่ม  (Virginia Polytechnic Institute and State University, 2011: online)  ได้แก่

                   1.  รูปแบบการสอนจากบนลงล่าง หรือรูปแบบการสอนที่ครูมีบทบาทหลักในการถ่ายทอดความรู้ (top-down model, teacher delivered) เช่น รูปแบบการสอนทางตรง รูปแบบการสอนแบบรอบรู้ (mastery learning model)

                   2.  รูปแบบการสอนที่เน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงสังคมระหว่างครูและผู้เรียน (social  models, student-teacher negotiated) เช่น รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ (cooperative learning) รูปแบบการสอนการฝึกหัดทางปัญญา (cognitive apprenticeship)

                   3.  รูปแบบการสอนจากล่างขึ้นบน  (bottom-up models, student-centered) เช่น  รูปแบบการสอนการแก้ปัญหา  รูปแบบการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมของ Hannafin, Land และ Oliver (1999)  รูปแบบการสอนการฝึกหัดสืบสอบ (inquiry  training model) ของ Suchman (1962) ซึ่งเป็นรูปแบบการสอนที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความสามารถด้านพุทธิพิสัยหรือสติปัญญา และด้านทักษะคือกระบวนการสืบสอบ หรือการวิจัย โดยรูปแบบการสอนดังกล่าว  สร้างขึ้นจากทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธิปัญญานิยมกลุ่มสร้างความรู้ เป็นต้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น